[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by Maxsite 0.99
โรงเรียนชุมชนวัดตะเคียนงาม
www.takien.ac.th
   
  


  

56-1
การประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ (EDUCA 2013)

ศุกร์ ที่ 18 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2556

ผอ.อัญชลี สารสุวรรณ์ รองฯกรรณิกา หมั่นดี และ คณะครู เข้าร่วมงาน มหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู หรือ EDUCA 2013 ณ ฮอลล์ 9 อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 โดยครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 6 ภายใต้แนวคิด "Strong Performers and Successful Reformers" ซึ่งภายในงาน มีการบรรยายพิเศษและการประชุมอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญ การจัดทำเวิร์คช็อป เช่น ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, ICT สำหรับการสอนและการจัดการเรียนรู้, อาเซียน, การวัดและประเมินผล ในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยผู้บริหารและคณะครู จะนำองค์ความรู้ที่ได้มาบริหารจัดการและพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน ชุมชนวัดตะเคียนงาม ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


เก็บมาฝาก...EDUCA  2013
              ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ  เรื่อง  Strong  Reformers  and Successful  Reformers  กรณีศึกษาบทเรียนด้านการจัดการศึกษาที่ประสบความสำเร็จของประเทศฟินแลนด์  :  การเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จ
              ถ้าเอยถึงประเทศฟินแลนด์เรามองเห็นภาพหิมะ  ความมืด  หรือ  อาจจะมองเห็นโรงเรียนที่สอนเด็กเป็นซานตาครอสเพราะจุดกำเนิดของซานตาครอสอยู่ที่ประเทศนี้  อาจจะมองเห็นนักปฏิรูปการศึกษาหรือนักประสิทธิผลทางการศึกษา  หรือแม้กระทั่งประเทศที่มีพระอาทิตย์  24  ชั่วโมง สิ่งเหล่านี้เราก็ต้องสนใจอะไรบ้าง  ถ้าเราเป็นนักบริหารการศึกษาเราก็ต้องสนใจว่าทำไมประเทศฟินแลนด์ในอดีตเป็นประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่สุดในโลก  แต่ปัจจุบันทำไมอยู่ที่ลำดับ  1  ของโลกได้
              ถ้าจะพูดถึงระบบการศึกษาที่ดีในโลก (เฮลซากิ) 
Strong  Reformers  การเลียนแบบสิ่งไม่ง่าย ทำไม่ง่าย แต่สามารถเรียนรู้กันและกันได้  เรามาดูว่าฟินแลนด์เขาทำกันอย่างไร  จึงปฏิรูปการศึกษาจากอันดับบ๊วยของโลกมาเป็นอันดับที่ 1  ของโลกได้  ก็คือ
               1. การให้โอกาส  นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน  คือ  ได้รับครูสอนเก่งๆ รัฐบาลวางหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนเหมือนกันทั่วประเทศ  ไม่มีโรงเรียนเอกชน เพราะการมีโรงเรียนเอกชนในฟินแลนด์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย  ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องจัดการศึกษาเสมอภาคทุกโรงเรียน  โดยรัฐบาลและโรงเรียนมีการวางระบบการจัดการศึกษา  ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
              2. เด็กยากจนทุกคนได้เรียนรู้เท่าเทียมกัน  โดยเด็กยากจนในประเทศฟินแลนด์จะได้รับการศึกษาจากครูเก่งๆที่รัฐบาลจัดหาให้จากโรงเรียนรัฐบาลเท่าเทียบกันทุกคน
              3. จัดให้มีนวัตกรรมทางการศึกษา/ จัดการบริหารระบบธรรมาภิบาล/  การวางฐานเศรษฐกิจ  และระบบทางการเมือง  เพราะประเทศฟินแลนด์มีคนยากจน  4  ใน  5  ของประเทศ
  จึงจำเป็นต้องวางระบบเหล่านี้ให้ดี  เพื่อสนองต่อความต้องการของคนประเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
              เทคนิคบริหารประเทศที่สำคัญใช้เทคนิค  เรียกว่า  GERM  ซึ่งย่อมาจาก
          
G lobal.
              E ducation.
              R eform.
              M orement.

 

              ซึ่งมีวิธีการดำเนินการเป็นภาคความรู้สามารถประยุกต์ปฏิบัติได้ดังนี้
              1. ใช้ระบบการแข่งขัน  (เช่น โรงเรียนแข่งขันกับโรงเรียน/ นักเรียนแข่งขันกับนักเรียน)
  หรือเรียกว่า  โรงเรียนแข่งขันกันพัฒนานั่นเอง
              2. มีความคาดหวัง (สร้างหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็ก)
  รับบาลมีการสร้างหลักสูตรที่เอื้อต่อกันการพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมและมีความรอบรู้ในทุกๆด้าน
              3. หาวิธีการปรับปรุงคุณภาพ  (เด็กและครู)  โดยมีตัวมาตรฐานตัวบ่งชี้  มีการทดสอบ/ ตรวจวัดคุณภาพทั้งครู/ และนักเรียน
              4. มีระบบพึ่งพา (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)  โรงเรียนต้องมีการสร้างเครือข่ายร่วมกันพัฒนา  สร้างให้ผู้ปกครองนักเรียนได้มีทางเลือก  ในการส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาล
          
   - รัฐบาลของประเทศฟินแลนด์จะเน้นให้ครูสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา  เพราะจะได้แนวคิดใหม่ๆ  ในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ  โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษา  ให้ทุกโรงเรียนโดยเท่าเทียมกัน
          
   - ในประเทศฟินแลนด์  เด็กจะมีชั่วโมงเรียนน้อย  กระบวนการเรียนจะเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงมาก  เพราะฉะนั้นการบ้านน้อย  ไม่มีการติวสอบ  เพราะความรู้ซึมลึกจากการเรียนการสอน จากการคิดค้น  และปฏิบัติจริงแล้ว
             
- จัดระบบสุขภาพที่ดีให้เด็กโดยจะเน้นด้านระบบโภชนาการที่ดี  นม/ อาหาร/ และคุณภาพชีวิตเด็กทุกคน
             - การสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริหาร/  ครูในโรงเรียนให้มีความฝันและความหวังที่จะยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีมาตรฐานระดับโลก
             - จัดให้มีโครงสร้างของระบบการศึกษาที่ดี  เช่น ให้มีเฉพาะแต่โรงเรียนรัฐบาล/ จัดครูมีคุณภาพ/  จัดวัฒนธรรมสังคมและองค์กร/ สร้างระบบครอบครัวให้มีความสุข/ สร้างสภาพแวดล้อม/ สร้างหลักสูตรเอื้อต่อการเรียนรู้/ รวมทั้งสร้างสังคมเกื้อกูลกัน
            วิทยาการบรรยายโดย 
Dr. Pasi  Sahiberg.  Director General, Centre for international Mobility  and  Cooperation, Ministry of  Education  and  Culture, Finland.



สรุปงานแปลและรวบรวมโดย
Anchalee  Sansuwan 

Chumchonwattakhianngam  School
09/10/2013



ชมภาพทั้งหมดที่นี่ 
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.661536670543294.1073741950.150736538289979&type=1


เข้าชม : 1308


56-1 5 อันดับล่าสุด

      ตักบาตรเทโว 56 30 / ต.ค. / 2556
      ถวายพวงมาลาวันปิยะมหาราช 56 24 / ต.ค. / 2556
      การประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ (EDUCA 2013) 18 / ต.ค. / 2556
      งานมหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู (EDUCA 2013) 14 / ต.ค. / 2556
      พิธีบำเพ็ญกุศลศพ คุณพ่อหยด จันทนะ 14 / ต.ค. / 2556


 

 

 

โรงเรียนชุมชนวัดตะเคียนงาม 223 ม.2 ต.ปากน้ำกระแส อ.แกลง จ.ระยอง 21170
โทรศัพท์/โทรสาร 0 - 3866 - 1918
Webmaster : ครูคมสัน คงเอี่ยม , ครูโอปอ ยังเหลือ
E-Mail : admin@takien.ac.th